ลุยไฮสปีด3สนามบิน สัญญาใหม่ “สร้างไปจ่ายไป” ซีพี วาง1.6แสนล้านการันตีเสร็จใน 5 ปี

ลุยไฮสปีด3สนามบิน สัญญาใหม่ “สร้างไปจ่ายไป” ซีพี วาง1.6แสนล้านการันตีเสร็จใน 5 ปี

เดินหน้าลุย ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน เปิด 5เงื่อนไข สัญญาร่วมทุนใหม่  “ซีพี – รฟท. “ หลังผ่านบอร์ดรถไฟ ก่อนเสนอครม.และลงนามสัญญา ภายในเดือน มิ.ย.นี้ เอกชน วางหลักประกัน ว่าสร้างเสร็จภายใน 5ปี 160,000 ล้านบาท ป้องกันทิ้งงาน

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน ) เชื่อม3สนามบิน ( ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)  ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544 ล้านบาท  ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัท เอเชียเอราวัน จำกัด เครือซีพี ฐานะคู่สัญญา โดยลงนามสัญญา ตั้งแต่ ปี 2562 ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

จังหวะนั้นเกิด สถานการณ์โควิดแพร่ระบาด  เศรษฐกิจชะลอตัว   สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่  เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นโดยเฉพาะทางด้านการเงิน และเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อได้

จึงนำมาซึ่งการแก้ไขสัญญาเป็นสาเหตุให้การก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม3สนามบินล่าช้าออกไป กว่า6ปี โดยประเด็นที่ถกเถียงกันนาน กว่าจะลงตัว คือ การให้เอกชนก่อสร้างสถานีพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีด ไทย-จีน กับ ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน ช่วงดอนเมือง บางซื่อ

ในขณะเอกชน เกรงว่าจะเกิดงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเสนอข้อแลกเปลี่ยน  “สร้างไปจ่ายไป” แต่ภาครัฐเกรงว่าจะกระทบความเชื่อมั่นและเอกชนอาจทิ้งงาน โดยยึดการ จ่ายค่างวดงานหลังจากก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการเดินรถ เป็นเวลา10งวด
ในที่สุดต้องพบกันครึ่งทางเอกชนต้องดำเนินการเร่งด่วนก่อนคือ ออกแบบโครงสร้างร่างร่วม และเริ่มการก่อสร้างบริเวณใต้รันเวย์ ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา และบางซื่อ-ดอนเมือง บริเวณที่มีโครงสร้างร่วมกับโครงการรถไฟไทย-จีน (สัญญา 4-1)และรัฐยอมในข้อตกลง “สร้างไปจ่ายไป”แต่เอกชนต้องวางเงิน160,000ล้านบาทเป็นหลักประกันภายใน5ปี หากสร้างไม่เสร็จตามกำหนดสามารถยึดเงินดังกล่าวได้

ล่าสุด ได้เห็นสัญญาณความก้าวหน้าในการก่อสร้าง หลังจาก คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.)  ได้พิจารณาเห็นชอบ ร่างสัญญาร่วมลงทุน ไฮสปีด เชื่อม3สนามบิน ฉบับแก้ไขแล้ว และคาดว่ารฟท.และภาคเอกชนจะลงนามภายใต้สัญญาใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2568

โดย เอกชนเริ่มงานหลังจากออกหนังสือแจ้งเริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)  ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี นับจากวันที่ออกหนังสือเริ่มแจ้งงาน และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จและสามารถเปิดให้บริการในช่วงปี 2572

สำหรับ5สัญญาใหม่ที่แก้ไขคือ 

1. วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม รัฐจะจ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐจะ “แบ่งจ่าย” เป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่า ๆ กัน รวมเป็นเงิน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนมาเป็นรัฐจะจ่ายเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ ร.ฟ.ท.ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท

แต่มีเงื่อนไขให้เอเชีย เอรา วัน ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 152,164 ล้านบาท เพื่อประกันว่างานก่อสร้างและรถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการได้ภายในระยะเวลา 5 ปี กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของ รฟท.ทันทีตามงวดการจ่ายเงินนั้น ๆ

ที่มา – https://www.thansettakij.com/economy/624302?fbclid=IwY2xjawKATaFleHRuA2FlbQIxMABicmlkETFFU0t3R3V5MHRiOWQxS3hSAR5LSwrF8d5WGbd8zGJq3b6l8cG49dm32pezqcl-01ex4IyL1QZh8bK5_dSR3A_aem_j4N1v1j2kR_odNNSmG5DaQ

Scroll Up